ค้นหา

24.7.11

การหล่อเรซิ่น

การหล่อเรซิ่น







วัสดุ / อุปกรณ์

1. ยางซิลิโคน มีลักษณะเหลวข้น สีขาวขุ่น ขายเป็นชุดพร้อมตัวทำให้แข็ง

2. โพลิเอสเทอร์ เรซิ่น เป็นน้ำเหลวใสข้น

3.ตัวเร่งปฏิกิริยา(โคบอลท์ ) เป็นของเหลวสีม่วง มีหน้าที่ควบคุมเวลาการแข็งตัว

          ใส่มากเรซิ่นจะแข็งตัวเร็ว ถ้าใส่น้อยจะแข็งตัวช้า

4. ตัวทำปฏิกิริยาหรือตัวทำให้แข็ง เป็นของเหลวใส เป็นตัวทำให้เรซิ่นแข็งตัว

5. ผงทัลคัม เป็นแป้งชนิดหนึ่ง ใช้ผสมในเรซิ่นเพื่อให้เนื้อชิ้นงานทึบแสง

6.ปูนปลาสเตอร์ใช้ทำพิมพ์ครอบพิมพ์ยางซิลิโคน เพื่อรักษารูปทรงของยางแม่พิมพ์ หรือใช้ผสมกับเรซิ่น

7. สีน้ำมันกระป๋อง ใช้ผสมในเรซิ่น อาจใช้เฉพาะแม่สี (เหลือง แดง น้ำเงิน)

8 พู่กัน ใช้ทายางซิลิโคนลงบนชิ้นงาน หรือใช้หล่อเรซิ่น

9. ทินเนอร์ สำหรับล้างพู่กันให้สะอาดเวลาทำพิมพ์ซิลิโคนหรือหล่อเรซิ่น

10. วาสลีน ใช้ทาบนยางซิลิโคนหรือตัวต้นแบบกันยางติดกัน

11. ภาชนะผสม ใช้ถ้วยพลาสติก เพราะราคาถูกและไม่ติดเรซิ่น

และที่อย่าลืมเป็นเด็ดขาด หน้ากากปิดจมูก เพราะเรซินจะมีกลิ่นมาก ไม่ดีต่อการสูดดมเข้าไป


แหล่งจำหน่ายวัสดุอุปกรณ์

ร้านศึกษาภัณฑ์พาณิชย์ ร้านค้าย่านพรานนก สวนจตุจักร


วิธีทำ

ขั้นตอนการทำแม่พิมพ์ซิลิโคน

1. นำกระดาษแข็งหรือวัสดุพื้นเรียบมาตัดเป็นสี่เหลี่ยมให้มีขนาดใหญ่กว่า ต้นแบบ เพื่อทำเป็นพื้นรองต้นแบบ

2. นำต้นแบบที่จะทำแม่พิมพ์มาทากาวหรือติดเทปกาว 2 หน้า ด้านหลัง เพื่อให้รูปต้นแบบติดกับพื้นรอง เวลาทายางซิลิโคนจะได้อยู่กับที่

3. ทาน้ำมันหรือวาสลีนลงบนต้นแบบ เพื่อกันพิมพ์ยางติดกับต้นแบบจนแกะไม่ออก

4. เทยางซิลิโคนสักเล็กน้อย ลงในภาชนะผสม (การผสมยางซิลิโคนแต่ละครั้ง อย่าผสมครั้งละมากๆ จะทำให้ทาลำบากและสิ้นเปลืองยางซิลิโคน ) เกินไป

5. ผสมน้ำยาตัวทำให้แข็งลงไปในยางซิลิโคนประมาณ 2-5 u0E02องยางซิลิโคน คนให้เข้ากัน

6. ใช้พู่กันจุ่มยางที่ผสมแล้วทาลงบนต้นแบบให้ทั่วทุกซอกทุกมุมเพื่อกันการเป็นฟองอากาศ

7. รอยางแห้งดีแล้ว (ประมาณ 40 นาที) จึงผสมยางซิลิโคนใหม่ทาอีก 2-3 ครั้ง เพื่อให้พิมพ์มีความหนาตามต้องการ

8. เมื่อยางแห้งดีแล้ว ผสมปูนปลาสเตอร์กับน้ำในอัตราส่วน 1:1 โดยโรยปูนลงในน้ำแล้วคนด้วยมือจนมีความหนืด นำไปทาบนพิมพ์ยางเพื่อให้เป็นพิมพ์ครอบกันพิมพ์ยางเสียรูปทรง

9. เมื่อปูนปลาสเตอร์แข็ง จึงแกะพิมพ์ครอบ พิมพ์ยางซิลิโคนตามลำดับ นำพิมพ์มาตัดแต่งส่วนเกินออกให้เรียบร้อยก็จะได้แม่พิมพ์ยางซิลิโคนที่เสร็จสมบูรณ์พร้อมจะนำไปหล่อเรซิ่น


ขั้นตอนการหล่อเรซิ่น

1. เทตัวเร่งปฏิกิริยา (โคบอลท์) ผสมกับเรซิ่นในอัตรา 20 หยด /1 กิโลกรัมคน ให้เข้ากัน (จะมีสีชมพูอมม่วงจาง ๆ ) ถ้าต้องการให้ชิ้นงานเป็นสีก็ใส่สีลงไปสักเล็กน้อย หรือถ้าต้องการให้ทึบก็ใส่ผงทัลคัม ปูน หรือสีขาว

2. ใส่ตัวทำให้แข็งลงไปในเรซิ่นที่ผสมแล้ว (ข้อ1) 25 หยด คนให้เข้ากัน

3. เทเรซิ่นที่ผสมแล้วในข้อ 2 ลงไปในแม่พิมพ์ (ถ้าเป็นงานละเอียด ให้ใช้พู่กันช่วยทาเรซิ่นบนแม่พิมพ์เพื่อกันการเป็นฟองอากาศ)

4. ทิ้งให้เรซิ่นแข็งตัว (ประมาณ 1 ชั่วโมง) แกะพิมพ์ออก นำชิ้นงานมาตกแต่งรายละเอียดส่วนเกินต่าง ๆ ก็จะได้ผลงานที่สำเร็จสวยงาม

ตลาด/แหล่งจำหน่าย

ร้านกิ๊ฟช๊อป ศูนย์การค้า ห้างสรรพสินค้า

1. การหล่อเรซิ่น ถ้าใส่ตัวเร่งปฏิกิริยามากเกินไปจะทำให้เรซิ่นแข็งตัวเร็ว สีเรซิ่น จะเปลี่ยนหรืออาจทำให้ชิ้นงานแตกร้าวได้ แต่ถ้าใส่น้อยเกินอาจทำให้ไม่แข็งตัว

2. ถ้าเรซิ่นแข็งเป็นบางส่วน แสดงว่าผสมตัวทำให้แข็งไม่เข้ากันดีพอ

3. ในกรณีที่ชิ้นงานเป็นสีขาว หากต้องการให้มีสีต่างๆให้ใช้สีอะครีลิกระบาย สีเพิ่มเติมตามต้องการ

18.7.11

กล่องใส่สมบัติ จากกระดาษแนพคิน เดคูพาจ Decoupage Paper Napkins

หลังจากคุณแฟนไปซื้อกล่องสีขาวสะอาดมาสำหรับใส่ สมบัติ ซีดี หนัง หน้าโทรทัศน์
เพราะคุณท่านจะไม่ชอบความรก เก็บใส่กล่องหมดทุกอย่าง
เราก็จัดการ เอามาประกอบเป็นกล่อง ติดน๊อตข้างละ 4 เอากระดาษแนพคิน มา เดคูพาจ ซะเลย ผู้ชายค่ะ จะไม่ชอบโบว์ ไม่ชอบวิ้งวิ้ง ดอกกุหลายแค่นี้พอ  ใช้แนพคินประมาณ 3 แผ่น ใช้เยอะไม่ได้มันแพงค่ะ  ตัดแต่ดอกกุหลาบ ค่ะ และแปะ ใช้กาวทา จากตรงกลางออกข้าง ใจเย็นนะค่ะ เดี๋ยวกระดาษขาด รอให้แห้งใช้กาว Decoupage
ทาทับ Napkins อีกครั้ง และตกแต่งตามความพอใจค่ะ แต่ด้วยโบว์ หรือลูกปัด ก็ได้ ค่ะ

เพื่อเพื่อนคนไหนเบื่อสีขาวต้องการกล่องกระดาษมีสีสันสวยงาน เป็นไดเดียให้ค่ะ







กระดาษแนพคินที่เรามี หลายหลายอยู่ค่ะ ลนใจติดต่อได้ค่ะ

กระดาษทิชชู่ napkin กระดาษเดคูพาจ

สีแบบอุ่นหรือสีโทนร้อน

สี หมายถึง ลักษณะความเข้มของคลื่นแสงและมีความยาวคลื่นต่างกันที่ปรากฏต่อสายตา หรือสิ่งที่นำไปย้อมหรือนำวัตถุอื่นให้เป็นสีเช่นเดียวกับตัวมันเอง สีมีอิทธิพลในเรื่องของอารมณ์การสื่อความหมายที่เด่นชัด กระตุ้นต่อการรับรู้ทางด้านจิตใจมนุษย์ สีแต่ละสีทำให้ความรู้สึก ความสัมพันธ์และอารมณ์ที่ไม่เหมือนกัน สีบางสีให้ความรู้สึกสงบ บางสีให้ความรู้สึกตื่นเต้นรุนแรง สีจึงเป็นปัจจัยสำคัญอย่างยิ่งต่อการสร้างงานศิลปะและการออกแบบ เพื่อความสวยงามและเพื่อสื่อความหมาย ฉะนั้นงานจะสมบูรณ์สวยงามดึงดูดใจผู้ดูได้ดี จะต้องมีสีเข้าไปเป็นองค์ประกอบสำคัญในการสร้างงาน ดังนั้นเราจึงควรศึกษาทฤษฎีสีและหลักการใช้สีอย่างละเอียด เพื่อเลือกใช้สีให้เหมาะสมกับงาน


สีโทนร้อน (Warm Colors)

สีแบบอุ่นหรือสีโทนร้อนในทางจิตวิทยาเขามองกันว่าเป็นกลุ่มสีที่เกี่ยวข้องกับความสุข ความปลอบโยน ความอบอุ่น และดึงดูดใจ การที่หลายคนชอบสีแบบร้อนหรืออบอุ่นในฤดูหนาว ที่สร้างความรู้สึกสะดวกสบาย ความสนุกสนานเพลิดเพลิน ซึ่งเกี่ยวข้องกับชีวิตความเป็นอยู่แบบร้อน ๆ ในแถบประเทศทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ดิเททิฟว ประกอบด้วย สีแดง สีส้ม สีเหลือง สีม่วงแดงและสีเหลืองเขียว กลุ่มสีแบบสีร้อนนี้มีความสามารถในระดับสูงเกี่ยวกับการมองเห็นข้อความหรือรูปภาพที่มีทัศนียภาพในที่ใกล้ และโน้มนาวความรู้สึกในขณะที่มองเห็น ซึ่งสีกลุ่มแบบร้อนนี้ อย่างไรก็ตามลักษณะของความแตกต่างที่เกี่ยวกับการมองเห็นของแต่ละคนย่อมแตกต่างกัน บางคนอาจจะมองว่าไม่มีชีวิตชีวา แต่สีกลุ่มนี้เป็นกลุ่มสีที่ช่วยให้หายจากความเฉื่อยชา มีชีวิตชีวามากยิ่งขึ้น ฉะนั้นเราต้องประยุกต์ใช้ร่วมกับกับสีอื่น ๆ ตามหลัก หรือกฎทฤษฎีของสีก็ได้
สีโทนร้อนได้แก่  สี เหลื่อง   ส้ม  แสด  แดง   เป็นต้น
ส่วยสีโทนเย็นได้แก่   สี นำเงิน  ฟ้า  ขาว    เขียว   เป็นต้น

ตัวอย่างรูปที่มองแล้วสบายตาค่ะ